โครงการพัฒนา

LIMEC…บทบาทในการเติมเต็มกลุ่มยุทธศาสตร์อื่นๆ
แม้ว่าผลการดําเนินงานตามมติคณะกรรมการ LIMEC และความเห็นจากสมาชิกประเทศ จะชี้ให้เห็นถึง
ความต้องการอย่างแรงกล้าในการสร้างแผนปฏิบัติการความร่วมมือในการส่งเสริมพันธกิจทั้ง 5 เสาหลักมาตลอดระยะเวลา 5 ปี
แต่หากพิจารณาจากปัญหาอุปสรรคที่พบในขณะนี้นั้น 

อาจเป็นไปได้ว่า ถึงเวลาอีกครั้งที่การขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลําไย
(LIMEC) จําเป็นจะต้องอาศัยการสนับสนุนแรงผลักดันจากกลุ่มยุทธศาสตร์อื่น ๆ
และองค์กรชั้นนําอื่นๆ ที่มีวิสัยทัศน์และพันธกิจใกล้เคียงกัน เพื่อให้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งนี้เป็นไปอย่างยั่งยืนและเติบโตในทิศทางต่อไปนี้

  1. การส่งเสริมให้ LIMEC เป็น ต้นแบบแห่งระเบียงเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าจากความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาคประชาสังคมบนฐานรากโดยมุ่งเน้นการยกระดับ สร้างคุณค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสร้างบรรยากาศแวดล้อมเพื่อส่งเสริมระบบพลวัตของการลงทุน
  2. ส่งเสริมให้ LIMEC เป็น แบรนด์ทางเศรษฐกิจ เกิดการรับรู้และได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศสร้างความเชื่อมั่นแก่สินค้าและบริการที่ก่อเกิดภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC
  1. ส่งเสริมให้ LIMEC เป็น กลุ่มการค้า ที่มีความมั่นคงจากความร่วมมือในการลงทุนทางทรัพยากรร่วมกัน และดําเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาตรฐาน มีระบบที่มีความเป็นสากล ยึดถือความเป็นภราดรภาพ เอื้อผลประโยชน์และโอกาสที่เปิดกว้างให้กับทุกคน เสมือนเป็นกลไกยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียนตอนบนอย่างแท้จริง
  1. ส่งเสริมให้ การดําเนินการของ LIMEC มีความทันสมัยและไร้พรมแดนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาและขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  2. ส่งเสริมให้ LIMEC เป็นเป้าหมายแห่งสังคมคุณภาพในทุกมิติทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการยกระดับการศึกษา การพัฒนาความรู้ ความอยู่ดีกินดี ภายใต้กฎระเบียบที่ยึดถือร่วมกันอย่างเท่าเทียม

ความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือ

อิรวดี เจ้าพระยา แม่โขงหรือ ACMECS

       ACMECS ประกอบด้วยคณะทํางานของประเทศที่มีแม่น้ําอิรวดี แม่น้ําเจ้าพระยา และแม่น้ําโขง (ไม่รวมประเทศจีน) อันได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชาและเวียดนาม โดยจุดกําเนิดของ ACMECS ก็คือประเทศไทย เป็นผู้ที่ผลักดันให้เกิดการทํางานในระดับภูมิภาค ซึ่งความร่วมมือแห่ง ACMECS เป็นเสมือนดั่งความร่วมมือทั้ง 3 แม่น้ํา มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกของอาเซียนในภายหลังทําให้เป็นที่กล่าวว่าเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ ต้องการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเร่งด่วนในทุก ๆด้าน เพื่อสามารถให้ไปได้ไกล เคียงบ่าเคียงไหล่กับกับประเทศอาเซียนใหม่ ดังเช่นประเทศไทย เป็นต้น

       หัวใจสําคัญของการพัฒนา ACMECS ก็คือการพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นในการพัฒนาทั้งในส่วนของสิ่งอํานวยความสะดวกและระบบในการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกท รวมถึงแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกันกับการพัฒนาหลักการของการขอวีซ่าเดียว (single visa) ที่สามารถขอวีซ่าในประเทศเดียว เพียงครั้งเดียวแต่สามารถเดินทางไปยังประเทศอื่น ๆในภูมิภาค ACMECS ได้การขับเคลื่อน ACMECS กระทําในระดับของการประชุมร่วมระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีการอภิปรายในเรื่องของนโยบายระหว่างกลุ่มผู้นําประเทศ รัฐมนตรี และระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

       จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป้าหมายและการทํางานของ ACMECS ใน 1 ทศวรรษที่ผ่านมานั้นอจะมีความสอดคล้องอยู่ในกรอบหลักการเดียวกันกับ LIMEC ซึ่งให้ความสําคัญกับความเชื่อมโยง (connectivity) ของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปิดข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เน้นการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศซึ่งหมายถึงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการลดต้นทุนในการใช้จ่ายทางการค้ารวมถึงการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการทําการค้าแบบบูรณาการระหว่างกัน เน้นการลดการแข่งขันและเพิ่มการพึ่งพากัน เพื่อให้ไปสู่จุดหมายปลายทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกัน

       แม้ว่ายุทธศาสตร์ ACMECS จะเป็นยุทธศาสตร์กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุม แต่การทํางานในระดับมหภาคนั้นอาจจะได้ผลสัมฤทธิ์ที่คล่องตัว (agility) น้อยกว่าการทํางานระดับจุลภาค ซึ่งพื้นที่ของ ACMECS มันครอบคลุมพื้นที่รวม 1.906 ล้านตารางกิโลเมตร ในขณะที่พื้นที่ของระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใน ACMECS มีประชากรจํานวน 7,929,263 คน พื้นที่ 130,270 ตารางกิโลเมตร ทําให้สามารถส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและความเจริญทางเศรษฐกิจระดับที่ใกล้ชิดและเป็นความร่วมมือระดับไตรภาคีเพียงแค่ 3 ประเทศ ทําให้แนวโน้มของการทํางานของระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC จะสามารถส่งเสริมพันธกิจของ ACMECS ในรูปแบบที่เฉพาะพื้นที่มากกว่า (Specific Area) มีความคล่องตัวสูง (High agility) สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของสะพานข้ามแม่น้ําสายที่ 2 เส้นทางภูดู่ ไปปากลาย และการพัฒนาเส้นทางในหลวงพระบาง แม่สอดและเมียวดี เป็นต้น การขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ต้องอาศัยการตามรอยความสําเร็จของ ACMECS ในหลายประการ เช่น การจัดทําความตกลงตรวจลงตราเดียว ที่ประเทศไทยทําร่วมกับประเทศกัมพูชา การถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรมสัมมนา การให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นสิ่งที่ LIMEC ต้องการทําให้สําเร็จ อาจต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับการทํางานของคณะทํางานระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก ACMECS

(Luangprabang - Indochina - Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC)

1.การเชื่อมโยงระหว่าง ไทย - สปป.ลาว

อุตรดิตด์เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการเดินทางจากพรมแดนประเทศไทยสู่หลวงพระบาง เนื่องจากจังหวัดอุตรดิตมีพรมแดนติดกับเมืองปากลาย แขวงไชบุรี สปป. ลาวทางอำเภอบ้านโคกและน้ำปาด

ㆍเมื่อ พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกระดับช่องภูดู ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำภอบ้านโคกเป็นด่านชายแดนสากล ดังนั้นการเดินทางผ่านแดนเข้าออกสู่ สปป.ลาว สามารถทำได้อย่างสะดวก ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าสปป.ลาว

ㆍการเดินทางสู่ สปป.ลาว เริ่มจากด่านภูตู่ จังหวัดอุตรดิตด์ ถึงหลวงพระบาง เป็นระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง

2.การเชื่อมโยงระหว่าง ไทย - สหภาพเมียนมา

อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเส้นทางที่สะดวกเดินทางจากพรมแดนประเทศไทยสู่ประเทศสหภาพเมียนมาที่เมียวดี เชื่อมการขนส่งข้ามแดนไทย – พม่า

เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับกลุ่มเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขงและอ่าวเบงกอล(GMS and BIMSTEC) และจุดเชื่อมการขนส่งแนวถนนระเบียงเศรษฐกิจ
ตะวันออก –
ตะวันตก (East-west Economic Corridor) ตามแผนความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และอินโดจีน

Economic Integration

AC: ASEAN Community
GMS: Greater Mekhong Sub-region
BIMSTEC: Bay of Bengal lnitiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation
ACMECS: Ayeyawady Chaophraya Mekhong Economic
Cooperation Strategy
IMT-GT: Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle
BGEC: Beibu Gulf Economic Cooperation

  • North-South Corridor
  • Northern Corridor
  • Northeastern Corridor
  • Eastern Corridor
  • Western Corridor
  • East-West Corridor
  • Southern Corridor
  • Southern Coastal Corridor

สภาพเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดเหนือล่าง 1

ลักษณะเด่นของสมาชิก LIMEC