ABOUT US

ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลําไย (Luangpabang-Indochina-Mawlamyine-Economic Corridor)
หรือ LIMEC เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สําคัญของประเทศไทย ประเทศเมียนมาร์ อันประกอบด้วย

       ทั้งสามพื้นที่ มีความได้เปรียบทางที่ตั้ง อันนํามาซึ่งโอกาสทางการค้า การลงทุน และรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางของทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมที่งดงาม มีความสําคัญทั้งในระดับโลก (มรดกโลก) และในระดับท้องถิ่น ระเบียงเศรษฐกิจเ (Economic Corridor) เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนารูปแบบหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงกลุ่มเศรษฐกิจสําคัญๆในพื้นที่ที่มีการกําหนดไว้ในทางภูมิศาสตร์ ( defined geographical economic groups) โดยกลุ่มเศรษฐกิจสําคัญๆ ทําหน้าที่เป็น Node หรือ Hub ศูนย์กลางทางกิจกรรมเศรษฐกิจรายเรียงกันไปในเส้นทางต่าง ๆ จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง สามารถขีดเส้นเชื่อมโยงบนพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

จุดประสงค์ของการสร้างระเบียงเศรษฐกิจจะให้ความสําคัญกับการเคลื่อนย้าย (mobility) ของทรัพยากรและชาติพันธุ์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ การก่อตั้งระเบียงเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงแต่การลงนามเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามข้อพันธะสัญญา แต่ยังหมายถึง ความสําเร็จของการสร้างความเชื่อมโยงกันในเชิงจินตนาการที่ ทําให้ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ในสามประเทศนั้น เกิดความเกี่ยวพันกันของประชาชนและเกิดการรับรู้สํานึกชุมชนระดับนานาชาติ และก้าวไปสู่การสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมและดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน โดยหลักการแล้ว ระเบียงเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครบทุกมิติของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ด้านคมนาคม พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การค้า

โดยหลักการแล้ว ระเบียงเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครบทุกมิติของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ด้านคมนาคม พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การค้า การลงทุน และการเกษตร เป็นต้น โดยเน้นความร่วมมือและการบูรณาการเชิงภูมิภาค หรือ Regional Cooperation and Integration (RCI) ซึ่งให้ความสําคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาในสี่เสาหลัก ได้แก่ การพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวก พรมแดน ( Cross border infrastructure) การพัฒนาการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านระบบเศรษฐกิจการเงิน และ ความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าและบริการสาธารณะ (public goods) ซึ่งทั้ง 4 เสาหลักต้องอาศัยปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ 4 ปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น องค์ความรู้ การสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่ง ธรมาภิบาลในการบริหารจัดการบ้านเมือง และประการสุดท้ายก็คือ การพัฒนาภาคเอกชนให้เข้มแข็ง (Private Sector Development) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลําไย หรือ LIMEC มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจชั้นนําของภูมิภาคอาเซียน เนื่องด้วยระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดขึ้นจากความร่วมมือกัน ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นหลักอย่างแท้จริง ระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดจากการตกลง และปฏิสัมพันธ์กัน โดยธรรมชาติของผู้คนอยู่ในภูมิภาคแห่งนี้ ที่มีความหวังร่วมกันต้องการให้เกิด การไปมาหาสู่กัน (ก่อให้เกิดการไปมาหาสู่กันเกิดขึ้น) เพื่อสร้างมิตรภาพ เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการค้าขายระหว่างกัน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เกิดการยกระดับงานเด่นในไมซ์ซิตี้/เมืองที่มีศักยภาพ โดยการศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอุตสาหกรรมไมซ์ (LIMEC – MICE)
  2. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือระหว่างประเทศ (LIMEC) ด้านอุตสาหกรรมไมซ์ ให้มีแผนสำหรับใช้ในการ กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคตอย่างเหมาะสม เชื่อมโยง และ สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของประเทศ ในด้านของการจัดการประชุมและนิทรรศการ
  1. เพื่อยกระดับให้เกิดงานในท้องถิ่นที่มีศักยภาพ และพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย สู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมาตรฐานด้านไมซ์ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างการพัฒนาเมืองอย่างมีทิศทางและยั่งยืน
  1. เพื่อกำหนดกิจกรรมตอบสนองแนวทางในการขับเคลื่อนด้านไมซ์ LIMEC – MICE ให้ประสบความสำเร็จ

จุดเริ่มต้นของกิจกรรมและความร่วมมือแห่ง LIMEC

       การพัฒนาและผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ LIMEC ในระยะแรก มาจากการพัฒนากรอบแนวคิดทางวิชาการ โดยงานวิจัยของ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ แห่งวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวรประเทศไทย ที่ดําเนินการศึกษาวิจัยในโครงการ “การพัฒนายุทธศาสตร์โลจิสติกส์การคมนาคมทางบกในเส้นทางภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม – เขตปกครองตนเองกว่างซี สาธารณะรัฐประชาชนจีน” ซึ่งเป็นโครงการที่รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือปัจจุบันคือ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ 

       วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) งานวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ ที่จะกลายเป็นระเบียงเศรษฐกิจ หากมีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกันระหว่าง หลวงพระบาง – ไซยะบุรี – ด่านภูดู่ (ลาว) – อุตรดิตถ์ – เพชรบูรณ์ – พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก – แม่สอด – ด่านเมียวดี – เมาะลําไย กลายเป็นเส้นทางไร้พรมแดนของทั้ง 3 ประเทศ ทําให้เกิด “ Seamless Connectivity between Places to Places” เกิดช่องทางการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายในการเชื่อมต่อกัน โอกาสการเดินทาง รวมถึงการขนส่งสินค้าและบริการจะเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น เปิดเส้นทางการท่องเที่ยว การค้าข้ามพรมแดนและการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่ง เนื่องจากอุปสรรคของการเดินทางลดลง (With less Barriers)

1) จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลกซึ่งทั้ง 5 จังหวัดนี้เป็นเมืองการค้า
   และศูนย์กลางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สําคัญของภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย
2) แขวง
หลวงพระบาง แขวงไซยะบูลี แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมืองมรดกโลกและทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
3) รัฐกะเหรี่ยงละรัฐมอญในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
จุดยุทธศาสตร์เศรษกิจการค้านําเข้าส่งออกที่สําคัญในลําดับต้นๆ ของภูมิภาคนี้

LIMEC PROVINCE/STATES

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาระบียงเศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือระหว่างประเทศ (LIMEC) อาทิ ทิศทาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) แผนพัฒนาการ ท่องเที่ยว แผนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
  2. สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ หน่วยงานส่วนกลาง และตัวแทนของสมาชิก LIMEC ที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมไมซ์ เผื่อวิเคราะห์และ กำหนดทิศทางของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจการค้า และกำหนดกิจกรรมและแนวทางในความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมไมซ์ ข้อจำกัดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในกลุ่มประเทศ (LIMEC) จากมุมมองของส่วนกลาง พื้นที่ และประเทศสมาชิกข้อเสนอแนะในการพัฒนาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในกลุ่มประเทศ (LIMEC) และกิจกรรมในการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศ LIMEC
  3. จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานและสร้างส่วนร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมไมซ์ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมออนไลน์หรือในพื้นที่ เพื่อหารือและร่วมกันพัฒนาข้อมูลยุทธศาสตร์ด้านไมซ์ของกลุ่มประเทศ LIMEC เป้าหมาย แผนงาน กิจกรรม แผนที่นำทาง และกลยุทธ์ทางการตลาดพร้อมข้อเสนอแนะชิงนยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือระหว่างประเทศ (LIMEC) ในด้านอุตสาหกรรมไมซ์
  4. กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด รวมถึงกรอบการดำเนินงาน แผนงาน โครงการ กิจกรรม และสิ่งที่จะดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนฯตลอดจน หน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละโครงการ โดยมีการสร้างให้เกิดงานใหม่ มีแผนงานการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่ม LIMEC และพัฒนาให้เป็นที่จดจำในปฏิทินการจัดงานของจังหวัด
  1. จัดทำแผนพัฒนาทางการพัฒนาระบียงเศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือระหว่างประเทศ (LIMEC ) ในด้านอุตสาหกรรมไมซ์ เผื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป