LIMEC เป็นการรวมตัวกันของภาคเอกชน ของ 3 ประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว
และสหภาพเมียนมา ซึ่งมุ่งเน้นความสัมพันธ์ 5 ด้าน
ㆍLuangprabang – Indochaina – Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC คือ การรวมตัวกันของภาคเอกชน อันประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรม หอการค้า สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของ 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสหภาพเมียนมา
ㆍมีเป้าหมายและทิศทางการทำงานอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน จำนวน 4 ประการ ได้แก่
- แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านธุรกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน
- จัดประชุมย่อยระหว่างภาคเอกชนในแต่ละประเทศเพื่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการ
- ผลักดันระเบียงเศรษฐกิจนี้ให้เกิดการยอมรับและเกิดโครงการต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต
ㆍ มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ 5 ด้าน คือ
ด้านการค้าการลงทุน
ด้านการท่องเที่ยว
ตั้งแต่ปีที่ 1 เป็นต้นมา การประชุมร่วมสมาชิกประเทศระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ให้ความสําคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงศาสนา การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวด้านการศึกษา การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม จุดแข็งของ LIMEC ก็คือการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งมรดกโลกที่เชื่อมต่อกัน เช่นเดียวกันกับ การมีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของผู้คน การที่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจนั้นครอบคลุมหลากหลายเมืองและชุมชนทําให้เกิดอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยสามารถนํามาประยุกต์เพื่อสร้างความแตกต่างในมิติต่าง ๆ ได้โดยศักยภาพการท่องเที่ยวที่เด่น ในแต่ละพื้นที่มีดังนี้
(1) ประเทศไทย มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกโลก ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
(2)สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่เมืองพะอัน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนารวมถึงการท่องเที่ยวชายฝั่ง ในพื้นที่เมืองเมาะลําไย
(3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่แขวงไซยะบุรี รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมรดกโลกในพื้นที่แขวงหลวงพระบาง จากที่อภิปรายข้างต้น ทําให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงแหล่งมรดกโลกบนระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC จัดการข้อตกลงร่วมในการผลิตสินค้าและบริการการท่องเที่ยวและบริการอื่น ๆ โดยสามารถจัดเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experiential Tourism) ที่ทําให้ตัวนักท่องเที่ยวนั้นสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ความต้องการในการพัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวร่วมกัน เชื่อมโยง LIMEC Area เป็นที่กล่าวถึงเป็นอันมาก โดยเฉพาะเส้นทางการท่องเที่ยวท้องถิ่นที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั้งในและนอกพื้นที่ LIMEC เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ การเข้ามามีส่วนร่วมของนักวิจัย โดยการสนับสนุนนักวิชาการที่จะนําไปสู่การสํารวจแหล่งท่องเที่ยวยังเข้าไม่ถึงเพื่อนําไปพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา “คุณภาพในการให้บริการ” ให้มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยภาคการศึกษา ในการทําวิจัยเข้าไปสนับสนุน
ประเด็นเรื่องการผลักดันการอํานวยความสะดวกผ่านแดน ยังคงเป็นประเด็นปัจจัยสําคัญที่ขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะความต้องการในการลดข้อจํากัดด้าน VISA และการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ โดยการรวมเอาระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC เป็น 1 จุดหมาย (One Destination) การประชุมในด้านการท่องเที่ยวนี้ ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ได้กล่าวไว้ตรงกันว่าต้องการให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบในการเดินทางผ่านแดนให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเพิ่มระยะเวลาในการอยู่พํานักของแต่ละประเทศให้นานขึ้น และควรขยายพรมแดนของการเดินทางผ่านแดนสําหรับนักท่องเที่ยวชาวเมียนมาร์ให้ไปได้มากกว่า 10 ไมล์ เพื่อจะได้เดินทางได้ทุกพื้นที่ในกลุ่ม LIMEC นอกจากนั้น ยังมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวแบบมาประชุมธุรกิจ ทําให้ต้องเร่งพัฒนาธุรกิจไมซ์ (MICE Business) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ
ด้านการศึกษา
ในปีที่ 1 มีการกล่าวถึงความต้องการที่ผลักดันให้การศึกษาเป็น ปัจจัยสําคัญในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านการศึกษาในทุก ๆ ระดับ ของทั้งสามประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานระหว่างสามประเทศ ในปีที่ 1 นี้เองมีการกล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจอาเซียน ในปีที่ 2 มีความต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักศึกษาและนักเรียนทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรนั้น ควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาหลักสูตรระดับนานาชาติระยะสั้นเพื่อทําให้เกิดโอกาสในการเยี่ยมเยือนระหว่างประเทศของบุคลากรด้านวิชาการจากคณาจารย์และนักเรียน นักศึกษา อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษา อาจต้องอาศัยการ ตัดสินใจจากรัฐบาลกลางในกรณีของประเทศลาว นอกจากนั้นมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวกับ ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนสําหรับประชาชนทั่วไปด้วย เพื่อให้การขับเคลื่อนพันธกิจด้านการศึกษาประสบความสําเร็จ จําเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาในด้านบุคลากรการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องรวมถึงควรมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนด้านการศึกษาแห่ง LIMEC ขึ้นด้วย.
ด้านสุขภาพและการแพทย์
มุ่งเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขภายในประเทศสมาชิกและระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีการให้ความสําคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสาธารณสุขและความเป็นเลิศทางการแพทย์ระหว่างกัน รวมถึงการผลักดันการแพทย์ทางเลือกควบคู่ไปกับการบําบัดทางธรรมชาติ ที่มีการประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่นของแต่ละประเทศ ในปัจจุบัน ข้อเสนอด้านสุขภาพ ได้มีการพัฒนาไปเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (wellness tourism) และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (medical tourism) ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ที่มีความพร้อมในการซึ่งการพัฒนาโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือนั้น ถือว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาไปพร้อม ๆกันระหว่างการพัฒนาทรัพยากรหรือ supply กับการพัฒนาตลาด หรือ demand ทําให้สามารถส่งเสริม ศักยภาพในการให้บริการด้านสุขภาพและสาธารณสุขและสามารถสร้างรายได้ในการรองรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือนไปพร้อมๆ กัน
ด้าน Logistics
ข้อเสนอของระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ที่ทุกประเทศสมาชิกเห็นตรงกัน ก็คือ ความต้องการอย่างเร่งด่วน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ (Hard Infrastructure) อาทิเช่น อาคาร ถนน สะพาน ไฟฟ้า โทรศัพท์ ที่ต้องเข้าถึงในทุกพื้นที่ เป็นต้น และต้องการให้มีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่าง 3 ประเทศให้ชัดเจน โดยเริ่มต้นจากการตั้งคณะทํางานร่วมกัน แล้วจัดทําแผนแม่บทโดยให้ภาคเอกชนเป็นฝ่ายขับเคลื่อน และให้ภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนและอํานวยความสะดวก ตลอดจนจัดทําโครงการเสนอของบประมาณสนับสนุน
ประเด็นต่อมาก็คือประเด็นเรื่องของคลังสินค้าและจุดพักรถขนส่งสินค้าร่วมกันของสมาชิก LIMEC เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะต้องมีการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเชิงกระบวนการ (Soft Infrastructure) อาทิเช่น ระบบเอกสาร พิธีการศุลกากร กฎระเบียบข้อบังคับ พิธีการตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงกรอบความร่วมมือต่างๆ ให้มีความเป็นไปได้ โดยต้องการให้มีกฎระเบียบข้อบังคับและนโยบายที่ชัดเจน เช่น ข้อตกลงการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ข้อจํากัดของความสามารถในการรับน้ําหนักของสะพานข้ามแม่น้ําระหว่างประเทศไทยและสหภาพเมียนมาร์
อีกทั้งมี ความต้องการในการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันภัยที่เป็นหนึ่งเดียวอีกทั้งการประกันภัยจะต้องครอบคลุมทั้งยานพาหนะ สินค้า ซึ่งจะต้องสามารถทําให้เกิดสิทธิประโยชน์ทางการประกันภัยที่เท่าเทียมกันในทั้ง 3 ประเทศ ควรปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ ให้สามารถคุ้มครอง หรือรับสิทธิประกันภัยได้เมื่อเกิดเหตุ แม้เหตุการณ์อยู่คนละประเทศ (ในกรณีที่มีกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยเดียวกัน) รวมถึงระบบของระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการนํา ยานพาหนะผ่านเข้าออกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถขนถ่ายสินค้า ซึ่งประเด็นในข้อนี้สมาชิก LIMEC จากเมียนมา ให้ความสําคัญเป็นอย่างมาก โดยสนใจในการส่งเสริมการขนส่งผ่าน ท่าเรือขนาดใหญ่ เสนอให้ภาครัฐปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมและหากเป็นไปได้อาจมีการพิจารณาปรับปรุงระบบการคมนาคมสาธารณะสามประเทศให้เป็นระบบเดียวกัน (เช่น การขับรถชิดซ้ายหรือชิดขวาเหมือนกัน เป็นต้น) ตลอดจนขยายเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างสมาชิกให้กว้างขึ้น เช่น ถนนที่เชื่อมโยงเพชรบูรณ์-สุโขทัย-ตาก-เมาะลําไย
อีกประเด็นสําคัญที่กล่าวถึงในที่ประชุมสามประเทศ ตลอดระยะเวลา 5 ปีก็คือการพัฒนาการให้บริการขนส่งสาธารณะแก่ผู้โดยสารที่เชื่อมโยง 3 ประเทศหรือว่าจะเป็นทางรถโดยสารประจําทางประเทศหรือว่าจะเป็นทางรถโดยสารประจําทางหรือเครื่องบินเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางสําหรับประชาชนทั้ง 3 ประเทศ อีกทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการและกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งภายในกลุ่มประเทศ LIMEC เพื่อให้ทุกประเทศมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน